วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

- การกำหนดขนาดกระดาษตามไซด์ต่าง ๆ เช่น800 x 600


- การเลือกโหมด มี 2 โหมดคือ

  1. RGB
    เป็นงานที่ใช้ในหน่วยงานและงานที่เกี่ยวกับแสง

  2. CMYK
    เป็นงานสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ ส่งงานให้โรงพิมพ์





PST
Save งานที่ยังไม่เสร็จ

JPEG
Save งานที่เสร็จแล้ว แต่แก้ไขไม่ได้
แต่งานควร Save ทั้งสองไฟล์ เพิ่มวิดีโอ



Drop Shadow การสร้างเงาด้านหลังตัวอักษร
Bevel and Emboss การสร้างตัวนูนตัวอักษร
Pillow Emboss การสร้างตัวบุ๋ม หรือยุบของตัวอักษร

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปย่อความ บทที่ 1

วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา(INNOVATION AND INFORMATION TECHNOLOGY IN EDUCATION)
จุดประสงค์การเรียน
1.ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมาย หลักการ และแนวความคิดของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
2.ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงระบบการเรียนรู้ กระบวนการสื่อความหมาย สื่อเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง3.ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงการแสวงหา การเลือก การใช้และการเก็บรักษานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง
4.ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงหลักการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง
5.ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและแสวงหาแหล่งเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ ที่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6.ให้ผู้เรียนสามารถออกแบบ สร้าง ใช้ ประเมินและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนได้

สรุปย่อบทที่ 1
ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศ
1.1ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ที่อาจจะอยู่ในรูปของ ความคิดหรือการกระทำรวมถึงสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในกระบานการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้รวดเร็วกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจและแสวงหาความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมส่วนใหญ่จะเกิดจากส่วนประกอบของเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงก็มักจะทำให้นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย
1.2ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยี หมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
คำว่า นวัตกรรม และ เทคโนโลยี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกันแม้ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์และสิ่งประดิษฐ์มาประยุกต์ โดยมีการกระทำหรือการจัดการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาก็ตามแต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยีแทน โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการประยุกต์วิธีการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทางไกลเป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ในการศึกษา จึงจะมักเรียกว่า การใช้เทคโนโลยีละการสื่อสารทางการศึกษา หรือการเรียกย่อยว่า การใช้ ICT ทางการศึกษา แทนที่จะใช้คำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” และเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้คำเช่นนี้ ในบทเรียนนี้จึงใช้คำว่า เทคโนโลยีการศึกษา แทน โดยให้หมายถึงนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆทางการศึกษา
ชึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาปัจจุบัน
1.3 ความหมายของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ คือ เช็คขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันซึ่งรวบรวม ประมวล จัดเก็บและเผยแพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมองค์กร
โครงสร้างหลักของสารสนเทศประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวล สารสนเทศ โดยมีข้อมูลย้อนกลับเป็นตัวควบคุม
1. ข้อมูลนำเข้า (INPUT) คือ ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำเข้าสู่ เพื่อจะทำให้เกิดการประมวลผลขึ้น - ข้อมูลที่จำจำเป็นจะมาจากสภาพแวดล้อมของระบบ ส่วนจะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละระบบ เช่น ถ้าเป็นระบบบริหารในสถานศึกษา ข้อมูลนำเข้าอาจประกอบด้วย อาจารย์ นักเรียน อาคารเรียน รายวิชาต่างๆ
2. การประมวลผล (Processing) คือ การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย ซึ่งได้แก่ การคำนวณ การสรุป หรือการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล การประมวลผลประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ๆ คือ บุคลากร , กระบวนการ , ฮาร์ดแวร์ , ซอฟต์แวร์ และแฟ้มข้อมูล
3. ผลลัพธ์ ( Output ) คือ สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลซึ่งจะปรากฏอยู่ในรูปรายงานต่าง ๆ คุณลักษณะของสารสนเทศที่มีคุภาพได้แก่ ตรงตามความต้องการ , ความตรงต่อเวลา , ความเที่ยงตรง , ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
4. ส่วนย้อนกลับ ( Feed back ) เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของการประมวลผลเพื่อให้การประมวลผลนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลจากการเปรียบเทียบจะนำไปสู่การปรับข้อมูลนำเข้าหรือกระบวนการประมวลผล
1.4 ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร
ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์การทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ระบบสารสนเทศที่ใช้กันในองค์กรทั่ว ๆ ไปคือ
1.4.1 ระบบประมวลผลรายการ
ระบบประมวลผลรายการเป็นพื้นฐานของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายการประจำวันในการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่นในการสั่งซื้อ ระบบการจองหอพัก
1.4.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบจะผลิตรายงานเพื่อผู้บริหาร โดยทั่วไปแล้วระบบ MIS จะเป็นข้อมูลภายในองค์กร ไม่เกี่ยวกับข้อมูลภายนอกหรือข้อมูลสภาพแวดล้อม ในเบื้องต้น MIS จะผลิตสาระสนเทศเพื่อผู้บริหาร โดยเฉพาะในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ
1.4.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลในองค์กรที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต จากแหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลด้านอัตราดอกเบี้ย ข้อมูลแนวโน้มของประชากร
1.4.4 ระบบสาระสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์การ ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง ชี้ให้เห็นปัญหา มองหาโอกาสและคาดคะเนแนวโน้มต่างๆในอนาคต
1.4.5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกันกับระบบอื่น ๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ เนื่องจากระบบนี้คือการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มานั่นเอง


ตอบคำถาม


1. นวัตกรรม คืออะไร
ตอบ ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2. นวัตกรรมตรงกับ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
ตอบ Innovation

3. สิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมคืออะไร
ตอบ สิ่งที่มีอยู่แล้วหรือสิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่นำมาพัฒนาปรับปรุงและนำไปใช้จริง

4. ท่านมีแนวทางในการทำงานนวัตกรรมอย่างไร
ตอบ แนวทางในการทำงานนวัตกรรมโดยสังเกตจากปัญหาที่พบในห้องเรียนของตนเองและนำมาสร้าง สื่อนวัตกรรมตามขั้นตอนดังนี้
- การคิดค้นประดิษฐ์สื่อที่สามารถแก้ไขปัญหาได้
- การพัฒนาการหรือการทดลองใช้สื่อ
- การนำสื่อนั้นไปใช้ปฏิบัติจริง

5. เทคโนโลยี คืออะไร
ตอบ การนำเอาขบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

6. คำว่าเทคโนโลยีตรงกับ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
ตอบ Technology

7. คำว่าเทคโนโลยีตรงกับ ภาษากรีกว่าอย่างไร
ตอบ Techologia

8. คำว่าเทคโนโลยีตรงกับ ภาษาลาตินว่าอย่างไร
ตอบ Texere

9. ข้อใดที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีตามความหมายทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพอย่างไร
ตอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่แปลกใหม่ ทันสมัย ด้วยเครื่องยนต์กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์

10. ข้อใดเป็นเทคโนโลยีตามความหมายทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์อย่างไร
ตอบ การนำโครงสร้างทางด้านพฤติกรรมมากำหนดรวบรวมในกระบวนการทางด้านความคิดหรือกระบวนการสอนต่าง ๆ ที่เป็นพฤติกรรม

11. เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างกันอย่าง
ตอบ แนวความคิดใหม่ ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นนวัตกรรม และเมื่อนำมาใช้จนแพร่หลายโดยทั่วกันจึงเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น เทคโนโลยี

12. เทคโนโลยีอะไรเกิดขึ้นก่อนกัน
ตอบ นวัตกรรมเกิดขึ้นก่อนแต่เป้าหมายที่แน่นอนของนวัตกรรมและเทคโนโลยีคือทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยความคิดหรือการกระทำใหม่ๆจะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันความคิดหรือการกระทำใหม่ๆที่เรียกว่านวัตกรรรมนั้นก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี

13. การศึกษาหมายถึง หาความหมายมา 3 ท่าน
ตอบ การศึกษา หมายถึง การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง รู้เอง เรียนเอง ครูเพียงแต่แนะวิธีการเรียน
การให้ความหมายของนักการศึกษา
1.ราฟเฟอร์ตี ( Rafferty.1970 ) กล่าวว่า การศึกษาคือการปรับตัวของชีวิต
2.จอห์นดิวอี้ ( Dewey.1973 ) กล่าวว่า การศึกษาคือประสบการณ์ของชีวิตและความเจริญงอกงามที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตลอดชีวิต
3.วิจิตร ศรีสอ้าน ( 2515 ) กล่าวว่า การศึกษาคือ เรื่องการพัฒนาคนเพื่อผลของส่วนรวม
ความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า
การศึกษา คือ ประสบการณ์ของชีวิตรวมถึงกระบวนการที่ส่งเสริมให้บุคลมีความเจริญงอกงามทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สิ่งที่ได้จากวิชาภาษาอังกฤษ


ได้แนวคิดว่าจะต้องอ่านหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น หนังสือพิมพ์ student weekly อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งฉบับ เพื่อปลูกฝังการรักการอ่าน และฝึกฝนตนเอง ให้รักภาษาอังกฤษมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551


สิ่งที่ได้จากวิชาเทคโนโลยีสำหรับครู


ทำให้ตนเองสามารถเรียนรู้การทำงาน ที่นอกเหนือจากหน้ากระดาษธรรมดาได้อย่างเข้าใจมากขึ้น การศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูล ที่ไม่ใช่เพียงแค่ในหนังสืออย่างเดียว ทำให้อยากจะรู้เรียนรู้เพิ่มขึ้น และสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีกหลายอย่างในชีวิตประจำวัน

สิ่งที่ได้รับจากภาษาไทย





ทำให้เป็นคนช่างสังเกตมากขึ้นหลังจากอ่านบทความ, หนังสือนิตยาสาร หรือแม้แต่ฟังเพลง ว่าผู้เขียนต้องการถ่ายทอดอะไรให้ผู้อ่านได้รับรู้ เพียงแต่เราต้องมีสติ หรือ สมาธิในสิ่งที่ทำอยู่


และในแต่ละวันทำให้เรียนรู้ว่า เราควรอ่านหนังสืออย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมงเพื่อเพิ่มพูลความรู้ให้แก่ตนเอง และฝึกการคิดอย่างมีระบบ สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีความสุข